สังคมไร้เงินสด 1

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society มีมาสักพักกันแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จักหรือสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่!! ในยุคที่ผู้คนต้องต่อสู้และรับมือกับโรคระบาด แต่ยังต้องออกไปนอกบ้านเพื่อจับจ่ายซื้อของ ตระเตรียมวัตถุดิบและอาหารเข้าบ้าน เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะไม่ต้องใช้เงินสดเลยนับจากนี้ไป เป็นเรื่องที่เราต้องหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society คืออะไร

แท้ที่จริงแล้ว สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society เป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจที่ปราศจากการใช้เงินสด หรือ สังคมที่ไม่นิยมถือเงินสดนั้นเอง หรือถ้าจะให้เข้าใจกันง่ายๆ  ก็คือ ไปซื้อของ หรือทำธุรกรรมใดๆ ก็ไม่ต้องหยิบเงินสดออกมาจากกระเป๋ากันเลย เป็นหลักการที่มองว่า ความสำคัญของเงินสดในอนาคตจะลดน้อยลง และจะถูกแทนที่โดยการใช้ เทคโนโลยีทำธุรกรรมทางการเงินแทน  เช่น  ใช้จ่ายด้วยเงินสด ก็จะถูกเปลี่ยนมาเป็นใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต  บัตรเดบิต  หรือ บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) แทนนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบัน ลองสำรวจดูว่า หลายคนน่าจะได้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ในการซื้อของออนไลน์ในยามนี้อยู่แล้ว จนจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในยุคนี้ไปซะแล้ว….

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยมีการเริ่มเปลี่ยนแปลง ขยับจากสังคมเงินสด ไปสู่การใช้ ระบบบัตรเครดิตและบัตรเดบิต หรือการบริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) มากขึ้น โดยเห็นจากยอดการลดจำนวนพนักงาน สาขาย่อยของสถาบันทางการเงินและธนาคารน้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีอีกมากที่เรายังเห็น ผู้คนยังคงใช้จ่ายเงินสด และชำระค่าบริการในชีวิตประจำวันอยู่บ้าง และระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก ก็ยังคงเป็นสังคมเงินสดอยู่นะตอนนี้

ผลการจัดอันดับประเทศ สังคมไร้เงินสด

ประเทศแคนาดา  6.48% ประเทศสวีเดน 6.47% สหราชอาณาจักร 6.42% ประเทศฝรั่งเศล 6.25%  United States 5.87% ประเทศจีน 5.12% ประเทศออสเตรเลีย 4.92% ประเทศเยอรมนี 4.19% ประเทศญี่ปุ่น 3.12% และประเทศรัสเซีย 1.95%

ข้อดีข้อเสียของสังคมไร้เงินสด

ข้อดี :

มาดูกันว่า “สังคมไร้เงินสด” ใช้แล้วดียังไง ทำไมใครๆ ถึงเริ่มขยับเข้าไปเริ่มใช้ระบบนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ

ลดการใช้เงินสด

เพิ่มการใช้งาน e-payment

เพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจ

ลดการคอรัปชั่น จัดเก็บภาษีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามเงินสด ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในเวลานี้ เชื้อโรค เชื้อไวรัสต่างๆ แพร่กระจายอยู่ในอากาศทั่วโลก โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ ทำให้ ‘เงินสด’ ที่ทุกคนหยิบจับ ใช้จ่าย เกิดการส่งต่อกันไปมาผ่านมือผู้คนมาแล้วนับไม่ถ้วน เงินสดในรูปแบบของแบงก์และเหรียญจึงเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะไวรัสโคโรน่าที่สามารถมีชีวิตอยู่บนธนบัตรได้ถึง 9 วัน

รวดเร็วมากขึ้น หมดห่วงเรื่องออกจากบ้านไปทำธุรกรรมไม่ได้ ไม่เสียเวลาตามหาตู้เอทีเอ็มหรือธนาคาร

ปลอดภัยมากขึ้น ไม่ต้องกลัวเงินหายหรือการปล้นเงิน

สะดวกมากขึ้น โอนเงินไปได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้โดยตรงไม่ต้องเดินทาง

ข้อเสีย :

สูญเสียความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมทางการเงิน เกิดความไม่แน่ใจในระบบความปลอดภัย ทำให้ขาดวินัย ไม่มีการบริหารหรือควบคุมการใช้เงิน รวมทั้ง อาจจะใช้จ่ายสินค้าและบริการอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นได้ง่าย

ดังนั้น Cashless Society จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรให้ความสนใจ และปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น

สังคมไร้เงินสด 2

การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

จากการเปลี่ยนแปลงจากกระแสดิจิทัล (Wave of Digital Disruptive) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตสื่อในรูปแบบเทปและซีดี เริ่มเปลี่ยนไปเป็นดิจิทัล การเพิ่มจำนวนขึ้นของสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จากสิ่งพิมพ์ไปสู่ดิจิทัลในช่วง พ.ศ. 2548 หรือแม้กระทั่งการค่อย ๆ ประกาศปิดตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผลไปถึงวงการการเงินที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากในรูปแบบการใช้เงินกระดาษไปสู่เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นซึ่งเห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน และคาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค Cashless Society หรือยุคสังคมไร้เงินสด ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2563 ในที่สุด และสำหรับประเทศที่มีนโยบาย Cashless Society อย่างเต็มตัว เช่น ประเทศสวีเดน ที่เป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ได้ประกาศเลิกใช้เงินสดทั้งประเทศ และหันไปใช้ระบบการเงินแบบดิจิทัลเข้ามาทดแทนเป็น Cashless Society อย่างเต็มตัว ก็ถือเป็นตัวอย่างของ Cashless Society ได้เป็นอย่างดี

พร้อมเพย์ และความพร้อมของประเทศไทยในการเป็น Cashless Society

สำหรับประเทศไทย ในหลายภาคส่วนมีความพยายามส่งเสริมและสนับสนุนการเป็น Cashless Society มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น e-Payment จากค่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ e-Payment ที่มาในรูปแบบของบัตรโดยสาร และสิ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ล่าสุดอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การพัฒนาระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการดำเนินการภายในระยะเวลาอันสั้น และยังเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่จะมารองรับการเป็น Cashless Society ของประเทศไทยในอนาคต

โครงการพร้อมเพย์ (PromptPay) เป็นหนึ่งในแผนแม่บท National e-Payment ของชาติ เพื่อผลักดันประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลไร้เงินสด (Cashless Society) โดยระบบพร้อมเพย์ เริ่มเปิดใช้งานแล้วในปัจจุบัน หลังจากที่มีการเปิดรับลงทะเบียนข้อมูลไปในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา “พร้อมเพย์” นี้จะเข้ามาช่วยลดต้นทุนค่าธรรมเนียมการโอนให้ถูกลง พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะสามารถรองรับการเติบโตของ e-Commerce ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้แผนแม่บท National e-Payment ของภาครัฐนั้น ยังมีในเรื่องของการขยายเครื่องรับชำระบัตร การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีและใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจ่ายเงินของภาครัฐให้เป็นรูปแบบ e-Payment ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

สำหรับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)) หรือ ETDA นั้น เป็นสำนักงานพัฒนาและส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ทั้งในด้านการวางมาตรฐานข้อมูลและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผลักดันให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย เพื่อรองรับและสนับสนุนกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้ e-Commerce มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับประเทศไทยในการปรับตัวเข้าสู่ยุค Cashless Society ในอนาคตนั่นเอง


ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://hudsonaudioimports.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.okmd.or.th